รับบริจาคคอมพิวเตอร์สุรินทร์

รับบริจาคคอมพิวเตอร์สุรินทร์

Tel: 02-914 7962-4  Fax: 02-914-668

สุรินทร์ (ภาษากูย: เหมอง-สุลิน, เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ “อีสานใต้” มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น กูย กวย หรือ ส่วย ไทยอีสานหรือลาว เขมร หรือขะแมร์ มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24

  • ตราประจำจังหวัด : รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ (เดิมเรียกว่าปราสาทหินบ้านระแงง)
  • คำขวัญประจำจังหวัด : สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม
  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นมะค่าแต้ (Sindora siamensis)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกันเกรา (Fagraea fragrans)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา

โครงการ “รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ไอที อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ล้าสมัยชำรุดเสียแล้ว”

เพื่อแปลงเป็นเงิน นำกลับไปซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ ไปให้กับชุมชนผู้ขาดแคลนโอกาสทางความรู้ ได้ใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้ต่อไปโดย
รับบริจาค จากบริษัทเอกชน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐต่างๆ

—————————————————————————————————————————————

ซากขยะคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ 

ทุกวันนี้ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมาเร็วมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และพรินเตอร์ โดยวัตถุเหลือใช้พวกนี้หากจัดการไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและระบบนิเวศ

แต่บรรดาขยะที่ดูแล้วไร้ประโยชน์พวกนี้ กลับสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องที่ขาดแคลนโอกาสการเรียนรู้และคนพิการในสังคมไทยได้ เพียงแค่คุณนำมาบริจาคที่ มูลนิธิความรู้”

ประวัติศาสตร์

จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างลองติจูด 103 และ 105องศาตะวันออก ละติจูด 15 และ 16 องศาเหนือ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 420 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ และทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

การตั้งถิ่นฐาน
สมัยทวารวดี พบมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมาก่อนแล้วในดินแดนแถบอิสานใต้ ไปจนถึงบริเวณแถบอิสานกลางโดยชนชาติแรกๆ ที่ได้เข้าอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ตระกูลมอญ ละว้า ลั๊ว ขอม

สมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ซึ่งชาวขอม (กูย กวย ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ หรือส่วย) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมในแถบดินแดนอิสานใต้ และแถบสปป.ลาว สยาม กัมพูชา และญวน

สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ข้อมูลในพงศาวดาร เรื่องเล่าตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่าพันธุ์ทั้ง สยาม ไทย กวยหรือกูย (ขอม) เขมร (ขะแมร์) ลาว ทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน

เมืองโบราณเขตเมืองเก่าของเมืองสุรินทร์ 
เมืองโบราณเขตเมืองเก่าของเมืองสุรินทร์ อยู่พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีมนุษย์เข้ามาตั้งชุมชนแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ลักษณะชุมชนเป็นเนินดินมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ รูปวงรี หรือวงกลม ขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังเมืองโบราณตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคอีสานตอนล่าง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุรินทร์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 19 กันยายน 2521

จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่ 6 ในปี พ.ศ. 2534 พบว่าตัวเมืองยังมีสภาพที่สมบูรณ์เห็นแนวคูน้ำ-คันดินแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก

เมืองชั้นใน มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น มีขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ มีบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป

เมืองชั้นนอก มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชุมชนขอมโบราณ มีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้นล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ ยกเว้นด้านทิศใต้

จะเห็นได้ว่า ตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาหลายพันปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์ในอดีต ตลอดจนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่อย่างสำคัญที่คนสุรินทร์ในปัจจุบันจะช่วยกันรักษามรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ไว้ตราบชั่วลูกหลาน ด้วยการไม่บุกรุกทำลายคูน้ำคันดินของเมืองโบราณสุรินทร์

จากการศึกษาวิจัยการและสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์ กว่า 59 แห่ง ส่วนมากเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินล้อมรอบรูปวงรี หรือวงกลม ได้แก่

แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี หมู่บ้านเป็นเนินสูงเกือบ 3 เมตร พบโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ รวมทั้งภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแบบขอม และพบภาชนะที่ใช้บรรจุมีลักษณะเป็นภาชนะก้นมนขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการฝังศพครั้งที่สองของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปี มาแล้ว พบมากไปตลอดลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และขอนแก่น เป็นลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาททนง เป็นโบราณสถานขอมชึ่งกรมศิลปากรมีโครงการขุดแต่ง ในปี พ.ศ. 2536 และได้ขุดตรวจชั้นดินทางด้านหลังของโบราณสถาน พบหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงการอยุ่อาศัยของมนุษย์มาก่อนจะสร้างปราสาท คือ โครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุประมาณ 35- 40 ปี ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์

นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว ยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการในอีกกว่า 50 แห่ง อาศัยเพียงเทียบเคียงค่าอายุกับแหล่งอื่น ๆ พอสรุปได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว

หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง (เป็นการเรียกไปเองของสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนอันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า กูย, กวย, ส่วย ซึ่งยังมีอาศัยอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก ซึ่งปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทหิน และจากอิฐดินเผาจำนวนมากมีกระจายอยู่ทั่วไปในแถบอิสานใต้ ละโว้ (ลพบุรี) ไปจนถึงในเขตภาคกลาง (สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยอาณาจักรทาวราวดี) และภาคเหนือตอนล่าง

จากหลักฐานที่พบภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณจังหวัดสุรินทร์ และพบแหล่งชุมชนโบราณหลายแห่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ในบริเวณจังหวัดสุรินทร์ มีผู้คนอาศัยนานมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ในปีพ.ศ. 2538 นายเจริญ ไวรวัจยกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พร้อมคณะได้ศึกษาและเก็บข้อมูลชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ห้วยลำพลับพลาด้านบนและลำน้ำมูลด้านใต้ เนื่องจากพบเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสันนิษฐานว่าเนินเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหลักฐานชุมชนสมัยทวารวดีทั้งภูมิภาค เมืองโบราณที่สำคัญ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองโบราณบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทวารวดี นั่นคือ การนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก่อให้เกิดงานศิลปกรรมที่เนื่องในศาสนา ตามเมืองหรือชุมชนโบราณสมัยทวารวดีจะพบว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือ รูปเคารพในศาสนาพุทธขึ้น ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ใบเสมา เป็นต้น

แหล่งวัฒนธรรมทวารวดีในสุรินทร์ 
วัฒนธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 หรือราว 1,000-1,400 ปีมาแล้ว

ในภาคอีสานตอนล่าง ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุเดียวกับชุมชน ในจังหวัดต่างๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เช่น เมืองเสมา (14.922564,101.797777) เมืองเก่าโคราช (14.907787, 101.861843) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เมืองโบราณบ้านฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เมืองโบราณบ้านประเคียบ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองคงโคก อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนโบราณบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ( กรมศิลปากร, 2532 : 114 – 116 ) เป็นต้น

ลักษณะชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดสุรินทร์มักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ใบเสมา พระพุทธรูป พระพิมพ์ เป็นต้น ชุมชนบ้านพระพืด ตำบลบ้านแร่ อำเภอเขาวสินรินทร์ (14.966087, 103.584871) เป็นแหล่งชุมชนโบราณลักษณะคันคูดินรูปวงกลม ชุมชนโบราณบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านตรึม มีลักษณะเป็นชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองสิม ภายในวัดตรึม เป็นเนินดินมีใบเสมาปักอยู่ 16 ใบ ลักษณะเป็นแบบแผ่นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลงและหินบะชอลต์ ใบเสมาทุกใบจะมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน นั่นคือ แกะสลักเป็นรูปหม้อน้ำ อยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดเป็นกรวยแหลมบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี ขอบใบเสมาแกะเป็นเส้นตรงโค้งไปตามขอบ ทำให้ดูเหมือนว่าผิวหน้าทั้งสองด้านของใบเสมายื่นออกมา ปัจจุบันทางวัดได้สร้างอาคารคลุมใบเสมาและเนินดินไว้

ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบใบเสมา ที่โนนสิมมาใหญ่ และโนนสิมมาน้อย

โนนสิมมาใหญ่ อยู่ภายในหมู่บ้านทางทิศใต้ มีกลุ่มใบเสมาจำนวนมาก ปักอยู่ในตำแหน่งทิศทั้งแปดบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย มาเก็บรวมกันไว้ในอาคารขนาดเล็ก ใบเสมาทั้งหมดทำจากศิลาแลง เป็นแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบเป็นรูปหม้อน้ำมียอดเป็นรูปกรวยแหลม หรือเป็นสันขึ้นมาทั้งสองด้าน ลักษณะการตกแต่งเหมือนกับใบเสมาที่บ้านตรึม

โนนสิมมาน้อย

อยู่ทางทิศตะวันตกภายในหมู่บ้าน บริเวณนี้พบใบเสมาจำนวนเล็กน้อยอยู่รวมกันเพียงจุดเดียว ใบเสมาบางใบน่าจะปักอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยมีการย้ายใบเสมาใบอื่น ๆ มาวางรวมกันไว้ ลักษณะของใบเสมาเหมือนกับใบเสมาที่โนนสิมมาใหญ่ เป็นใบเสมาแบบแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบทำเป็นสันทั้งสองด้าน ทั้งหมดทำจากศิลาแลง

ใบเสมาที่พบสันนิษฐานว่าปักไว้เพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น

ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ จังหวัดสุรินทร์มีการสร้างปราสาทภูมิโพน ที่ ตำบลดม อำเภอสังขะ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ในศาสนาฮินดูศิลปะขอมโบราณสมัยไพรกเมง (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ,2532) ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง พบชิ้นส่วนจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 1 ชิ้น ซึ่งมีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ทับหลังรูปสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนก ประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่ ศิลปะขอมโบราณแบบไพรกเมง จำนวน 1 แผ่น

บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท 500 เมตร มีหนองปรือซึ่งเป็นบารายขนาดใหญ่ แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 300X500 เมตร อยู่ 1 แห่ง

ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว) ในเขตจังหวัดสุรินทร์ มีชุมชนวัฒนธรรมขอมโบราณที่สำคัญอีก 2 แห่ง คือ ชุมชนปราสาทหมื่นชัย บ้านถนน และชุมชนปราสาทบ้านจารย์ ตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ

ปราสาทบ้านจารย์ เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณสมัยเกาะแกร์ ราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ บนตัวปราสาทมีทับหลังขนาดใหญ่สลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ปราสาทหมื่นชัย เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ

ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย และศิลาแลง

ปราสาททนง บ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลับพลาและปราสาทประธาน

ปราสาทบ้านไพล บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทอิฐ 3 องค์ มีขนาดเท่ากันตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ

ต่อมาในช่วงอารยธรรมขอมในประเทศกัมพูชาได้เจริญถึงขีดสุดราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย พบปราสาทหินและเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอม เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองพิมาย อันมีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลางของเมือง ตัวเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น ช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานว่าเมืองสุรินทร์ได้รับอิทธิพลอารยธรรมของขอมโบราณอย่างมากเช่นกัน มีการปรับแผนผังเมืองให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอมโบราณมีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้น ล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร ล้อมรอบตัวเมืองเดิมรูปวงรีในสมัยก่อนหน้านั้นไว้ภายในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นที่อำเภอต่างๆ พบปราสาทขอมโบราณอีกหลายแห่ง

นักมานุษยวิทยา และนักโบราณคดีลงความเห็นว่า บริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางของแม่น้ำมูลด้านตะวันออกและชุมชนทุ่งสำริด ในจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ และลุ่มแม่น้ำมูลชีตอนล่าง ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานี คือแหล่งอารยธรรมโบราณ บรรพชนของชุมชนเหล่านี้ ได้ประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบหนา ในยุคแรก ๆ ไม่มีลวดลายเขียนสี ในยุคต่อมาพัฒนาเป็นการเขียนสี และชุบน้ำโคลนสีแดง นอกจากนี้ยังได้ค้นพบหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงทางคติชนวิทยาที่สำคัญของมนุษยชาติ คือ ประเพณีฝังศพครั้งที่สองโดยการบรรจุกระดูกผู้ตายลงในภาชนะก่อนการนำไปฝัง ซึ่งการฝังครั้งแรกนั้นจะนำร่างผู้ตายลงในหลุมระยะหนึ่ง แล้วจึงขุดขึ้นเพื่อทำพิธีฝังครั้งที่สอง ลักษณะสำคัญของชุมชนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่ง คือ โครงสร้างของชุมชนมักแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่อาศัยมักอยู่บนเนินหรือที่ดอน โดยรอบเป็นที่ลุ่มสำหรับเป็นแหล่งทำกิน ด้าน ตะวันออกส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานและด้านตะวันตกเป็นป่าช้า การขยายตัวของชุมชนมักขยายไปทางทิศตะวันตก ชุมชนเหล่านี้มีการขยายตัวทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองมีการสั่งสมหรือกวาดต้อนประชากรจากพื้นที่ต่าง ๆ จัดตั้งขยายเป็นชุมชนเมือง เป็นรัฐยุคต้นประวัติศาสตร์ ชุมชนเหล่านี้นี่เองที่หลอมรวมกันขึ้นเป็นอาณาจักรเจนละ หรืออีสานปุระ มีหลักฐานแสดงความเจริญหลายอย่าง เช่น การถลุงเหล็ก การทำเกลือ ปลูกข้าว การขุดคูกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและความปลอดภัย

ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ 
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ดังที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ดังนี้

เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออก และทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน, ช่องเสม็ก, ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณ และเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก

พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์เป็นกูย กวย ส่วย (ขอม) และเขมร เป็นชาวพื้นเมือง เช่น บุรีรัมย์บางส่วน นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย ซึ่งชาวกูย (ขอม กวย ข่า ละว้า ลั้ว ลื้อ เยอ หรือส่วย) พูดภาษาของตนต่างหากซึ่งเป็นภาษาของพลเมืองแรกเริ่มของชาวสุรินทร์และเป็นภาษาของผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์คนแรก พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) และชาวกูย กวย ส่วย (ขอม) ส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาท้องถิ่นได้หลายภาษา ส่วนพวกเขมรพลเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนือง ๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก ชาวเขมรต่ำอพยบและถูกจับเป็นเชลยเข้ามาในแถบเมืองสุรินทร์มากในปี พ.ศ. 2324 ซึ่งทางฝ่ายเขมรต่ำเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ

ในอดีตการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 – 100 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้ หรือการเกณฑ์แรงงาน ความยากจน และสงครามซึ่งเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ

จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์

ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา 
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่างคือ สุรินทร์ นครราชสีมา หรือ โคราช (เมืองโคราชเก่า บริเวณอำเภอเสิงสาง เมืองพิมาย และบริเวณใกล้เคียง มีโบราณสถานเหลืออยู่ให้เห็น 3 แห่งด้วยกัน คือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก และปราสาทเมืองเก่า การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ไปจนถึงกิโลเมตร ที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางเข้าสู่อำเภอสูงเนิน 2.7 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวามือตรงมุมวัดญาณโศภิตวนาราม (วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณโคราช รวมระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 32 กิโลเมตร) บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กวย กูย ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ (ทั้งหมดสืบเชื้อสายมาจากขอม) ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน แต่เรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น แต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ชาวส่วย (ขอม)

อีริค ไซเดนฟาเดน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูย กวย เคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูยเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระรอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว

หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิ