รับบริจาคคอมพิวเตอร์พัทลุง

รับบริจาคคอมพิวเตอร์พัทลุง

Tel: 02-914 7962-4  Fax: 02-914-668

พัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง โดยทางทิศตะวันตกของจังหวัด จะเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช ถัดลงมาทางตอนกลางและทางทิศตะวันออกของจังหวัด จรดทะเลสาบสงขลาจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าว ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง

  • คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน
  • ตราประจำจังหวัด : ปรากฏเป็นรูปภูเขาอกทะลุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัด ซึ่งภูเขาอกทะลุนี้ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมืองพัทลุง ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีบันไดทอดตัวยาวขึ้นจากเชิงเขาถึงถ้ำ ซึ่งเป็นรูอยู่ตรงกลางเพื่อให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมทิวทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ได้อย่างกว้างขวาง หากแต่ปัจจุบันยังขาดการดูแล ปรับปรุงและพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพะยอม (Shorea roxburghii)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกพะยอม
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลากระแหหรือปลาลำปำ (Barbonymus schwanenfeldii)

โครงการ "รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ไอที อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ล้าสมัยชำรุดเสียแล้ว"

เพื่อแปลงเป็นเงิน นำกลับไปซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ ไปให้กับชุมชนผู้ขาดแคลนโอกาสทางความรู้ ได้ใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้ต่อไปโดย
รับบริจาค จากบริษัทเอกชน โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐต่างๆ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ซากขยะคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ 

ทุกวันนี้ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมาเร็วมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และพรินเตอร์ โดยวัตถุเหลือใช้พวกนี้หากจัดการไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและระบบนิเวศ

แต่บรรดาขยะที่ดูแล้วไร้ประโยชน์พวกนี้ กลับสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องที่ขาดแคลนโอกาสการเรียนรู้และคนพิการในสังคมไทยได้ เพียงแค่คุณนำมาบริจาคที่ "มูลนิธิความรู้"

ประวัติศาสตร์

พัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากการค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 –14) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียในด้านพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมากเป็นรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทวดาโดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ[ต้องการอ้างอิง]

ในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุงได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคงภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้ปรากฏชื่อเมืองพัทลุง ในกฎหมายพระอัยการนาทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998 ระบุว่าเมืองพัทลุงมีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับได้ว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ที่ตั้งเมืองพัทลุงในระยะเริ่มแรกนั้นเชื่อกันว่า ตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน มักจะประสบปัญหาโดนโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโจรสลัดราแจะอารูและอุยงคตนะ ได้เข้าปล้นสดมภ์โจมตีเผาทำลายเมืองอยู่เนือง ๆ

ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ด๊ะโต๊ะโมกอล ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากเมืองสาเลห์ บริเวณหมู่เกาะชวา ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสุลต่านสุไลมาน แห่งเมืองสงขลาได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขาย ณ หัวเขาแดง แล้วตั้งประชาคมมุสลิมขึ้น ตรงนั้นอย่างสงบ ไม่มีการขัดแย้งกับชาวเมืองที่อยู่มาก่อน ปักหลักอยู่ยาวนานจนมีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่มากขึ้นในที่สุดก็พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองท่าปลอดภาษี มีเรือสำเภาแวะเข้ามาซื้อ

บทบาทของดะโต๊ะโมกอลได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรศรีอยุธยาด้วยดี พระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น "ข้าหลวงใหญ่" ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ต่อมาคือท่านสุไลมานบุตรชายคนโต มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาความสงบของพื้นที่ตั้งแต่ตอนล่างของนครศรีธรรมราช มาจดเขตปัตตานี ครอบคลุมครึ่งล่างของเมืองตรัง ปะเหลียน พัทลุง และสงขลา นอกจากนี้ก็ต้องเก็บส่วยสาอากรส่งถวายพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงศรีอยุธยา ท่านสุไลมานก็ได้ทำหน้าที่นี้เรียบร้อยด้วยดีมาตลอด ต่อมาได้ย้ายเมืองสงขลาจากสทิงพระมายังหัวเขาแดงซึ่งมีชัยภูมิป้องกันตนเองได้ดีกว่า

ในสมัยสุลต่านสุไลมาน บุตรของดะโต๊ะโมกอล ได้ส่ง ฟาริซีน้องชายซึ่งเป็นปลัดเมืองมาสร้างเมืองใหม่ที่เขาชัยบุรี เพื่อป้องกันศัตรูที่จะมาโจมตีเมืองสงขลาทางบก ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง และได้ย้ายเมืองพัทลุงออกจากเมืองสงขลาตั้งแต่นั้น และตั้งเมืองอยู่ที่เขาชัยบุรีตลอดมาจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2310[ต้องการอ้างอิง]

ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้งและได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโทในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำที่มีความสำคัญในการสร้างความเจริญและความมั่นคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน อาทิ พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว)พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทร์โรจน์วงศ์) ส่วนประชาชนชาวเมืองพัทลุงก็ได้มีบทบาทในการร่วมมือกับผู้นำ ต่อสู้ป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ. 2328 – 2329) พม่าจัดกองทัพใหญ่ 9 ทัพ 1 ใน 9 ทัพ มีเกงหวุ่นแมงยีเป็นแม่ทัพ ยกลงมาตีทางใต้ ตีได้เมืองกระบุรี ระนอง ชุมพร ไชยา และนครศรีธรรมราชตามลำดับ และในขณะที่กำลังจัดไพร่พลอยู่ที่นครศรีธรรมราช เพื่อจะยกมาตีเมืองพัทลุงและสงขลานั้น พระยาพัทลุงโดยความร่วมมือจากพระมหาช่วยแห่งวัดป่าลิไลยก์ ได้รวบรวมชาวพัทลุงประมาณ 1,000 คน ยกออกไปตั้งขัดตาทัพที่คลองท่าเสม็ด จนกระทั่งทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงยกกองทัพมาช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีทัพพม่าแตกหนีไป พระมหาช่วยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขาแล้วแต่งตั้งเป็นพระยาทุกขราษฎร์ช่วยราชการเมืองพัทลุง นอกจากสงครามกับพม่าแล้วชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฏอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุง พร้อมด้วยเสบียงอาหารไปทำสงครามปราบปรามกบฏในหัวเมืองมลายูเช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ. 2373 และ พ.ศ. 2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองพัทลุง ทางด้านการเมือง การปกครองในอดีตเป็นอย่างดี[ต้องการอ้างอิง]

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาลใน พ.ศ. 2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คืออำเภอกลางเมือง อำเภออุดร และอำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟ และสะดวกในด้านติดต่อกับเมืองต่างๆ[ต้องการอ้างอิง]

จากอดีตถึงปัจจุบัน เมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้งสถานที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงมาแล้ว ได้แก่

1.โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน 2.บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง 3.เขาชัยบุรี(เขาเมือง) ปัจจุบัน เขต 3 ตำบล คือตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง 4.ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช 5.เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง 6.บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง 7.บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง 8.บ้านโคกสูง ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อ.เมืองพัทลุง

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้เมืองพัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ในปัจจุบันจังหวัดพัทลุง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหราอำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอบางแก้ว และอำเภอศรีนครินทร์[4]

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 65 ตำบล 626 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองพัทลุง
อำเภอกงหรา
อำเภอเขาชัยสน
อำเภอตะโหมด
อำเภอควนขนุน
อำเภอปากพะยูน
อำเภอศรีบรรพต
อำเภอป่าบอน
อำเภอบางแก้ว
อำเภอป่าพะยอม
อำเภอศรีนครินทร์

วัตถุประสงค์

- โรงเรียนในต่างจังหวัด ที่ยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
- ชุมชนเพื่อพัฒนาความรู้ เด็ก,ผู้สูงอายุ,ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา
- สนับสนุนอุปกรณ์ให้ความรู้ ผู้พิการในการประกอบอาชีพ

 

รับบริจาคคอมพิวเตอร์ Notebook , Printer , Mouse , Keyboard , Scanner Monitor
และอุปกรณ์พ่วงต่อทุกชนิด ทุกสภาพการใช้งาน (พังแล้วก็รับครับ)

มูลนิธิความรู้

44/14 ซอยนิมิตใหม่ 12 แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510 Fax: 02-914-6688 Tel:02-914 7962-4

มูลนิธิความรู้
44/14 ซอยนิมิตใหม่ 12 แขวงทรายกองดิน
เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510 Fax: 02-914-6688
Tel:02-914 7962-4
Mobile:094-491-4333, 095-793-7000 , 083-622-5555
Email:info@chonlatee.com , chonlatee.th@hotmail.com